chefmuemai อาหารไทย วัฒนธรรมอาหารไทย เสน่ห์ของรสชาติที่คนไทยภูมิใจ

วัฒนธรรมอาหารไทย เสน่ห์ของรสชาติที่คนไทยภูมิใจ

วัฒนธรรมอาหารไทย เสน่ห์ของรสชาติที่คนไทยภูมิใจ post thumbnail image

วัฒนธรรมอาหารไทย มีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่โดยรวมแล้วก็เรียกว่าอาหารไทย อาหารไทยนั้นมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอาหารไทยหลายอย่างที่มีชีอเสียงระดับโลกในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ เช่น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงมัสมั่น แกงเขียวหวาน เป็นต้น อาหารไทยนั้นถือเป็น วัฒนธรรมอาหารไทย ที่น่าภาคภูมิใจที่คนไทยควรให้ความสำคัญและช่วยกันอนุรักษ์ให้อยู่คู่กับคนไทยในรุ่นต่อไป วัฒนธรรม อาหารจีน

อาหารไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ อาหารคาว และ อาหารหวาน ซึ่งอาหารในแต่ละภาคแต่ละจังหวัดจะมีสูตรการทำอาหารและรสชาติที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ภาคใต้จะเป็นอาหารประเภทแกง และ อาหารทะเลเป็นส่วนมาก ภาคเหนือจะเป็นอาหารสุขภาพและสมุนไพร ภาคอีสานจะมีอาหารคล้ายกับทางภาคเหนือ แต่รสชาติไปทางเผ็ดร้อนและภาคกลางจะเป็นอาหารตามหลักทั่วไปซึ่งรวมทั้งอาหาร ไทยและอาหารนานาชาติ

อาหารของภาคเหนือ

วัฒนธรรมอาหารไทย

วัฒนธรรมการกินของเหนือเป็นไปตามบรรพบุรุษ อาหารส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติ เช่นของป่าหรือสิ่งที่อยู่ภายในบริเวณบ้าน เช่น พืช ผักและสัตว์ที่เลี้ยงไว้เอง โดยรวมไปถึงอาหารที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลเช่น หน่อไม้ป่า เห็ดป่า เป็นต้น ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักคือ จะปั้นข้าวเหนียวแล้วจิ้มกินกับน้ำแกงหรือน้ำพริก ชาวเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิดเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู ฯลฯ ซึ่งผักที่เป็นเครื่องจิ้มและรับประทานคู่กันส่วนมากเป็นผักสดและผักนึ่ง

สำหรับอาหารประเภทเครื่องแกงเช่น แกงขนุนอ่อน แกงแค แกงฮังเล แกงโฮะ แกงหน่อไม้ แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักปั๋ง แกงผักกาดจอ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ฯลฯ และอาหารประเภททอด ยำหรือนึ่ง เช่น ยำหน่อไม้ ตำจิ๊นแห้ง ตำขนุน ตำมะม่วง ผักกาดส้ม ข้าวกั๊นจิ๊น ห่อนึ่งปลา แคบหมู ไส้อั่ว จิ๊นส้มหมก ฯลฯ

 อาหารของภาคกลาง

วัฒนธรรมอาหารไทย

อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วม รับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น

จุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม

อาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัฒนธรรมอาหารไทย

อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของ บุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว

เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา

อาหารของภาคใต้

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้ จึงมีรสชาติที่เผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย อาหารทะเลจึงเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ อาหารภาคใต้จะมีสีออกเหลืองๆ จากขมิ้น แทบทุกอย่างไม่ว่า จะเป็น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก้ทอด และด้วยอาหารรสจัดดังกล่าว จึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Related Post